วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้ระบบ DSS

การประยุกต์ใช้ระบบ DSS
ตัวอย่างที่ 1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับกลยุทธ์ในการแข่งขัน
                บริษัทไฟร์สโตน (Firestone Rubber & Tire) ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการออกแบบยางรถยนต์ยี่ห้อใหม่ ระบบช่วยให้นักวิเคราะห์มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลทางด้านการเงินในอดีตกับตัวแปรภายนอก เช่น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้วนำมาสร้างโมเดลในการพยากรณ์ขาย
                ด้วยโมเดลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ช่วยให้นักวิเคราะห์ของบริษัทไฟร์สโตน สามารถสร้างฐานข้อมูลที่บรรจุยางของคู่แข่งทั้งหมด 200 ยี่ห้อ รวมทั้งข้อมูลในการผลิต แรงกด และปริมาณการขาย ซึ่งผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลนี้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ระบบช่วยให้องค์การสามารถนำเอาประเด็นด้านเทคโนโลยีมาผนวกกับด้านการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และช่วยสนับสนุนให้มีการตัดสินใจร่วมกันของหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ
คำถาม
1.ผู้ใช้ระบบคือใคร
คำตอบ ผู้บริหารของบริษัทไฟร์สโตน และนักวิเคราะห์

2.ท่านคิดว่าตัวแปรใดบ้างที่ควรอยู่ในโมเดลพยากรณ์การขาย
คำตอบ  1.ตัวแปรภายนอก ได้แก่ จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ข้อมูลคู่แข่งขัน อัตราดอกเบี้ย จำนวนผู้บริโภค ราคา วัตถุดิบ เป็นต้น
             2. ตัวแปรภายใน ได้แก่ ข้อมูลในการผลิต การขาย ข้อมูลการเงิน และประมาณการขาย เป็นต้น


ตัวอย่างที่ 2: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับการบริหารการจัดส่งสินค้า

บริษัทซาน ไมเกล (San Miguel Corporation) ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารการส่งสินค้า (Production Load Allocation) เพื่อส่งสินค้ากว่า 300 ชนิด เช่น นม เบียร์ และอื่นๆ โดยส่งไปทั่วหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ระบบดังกล่าวช่วยคำนวณความสมดุลระหว่างค่านำส่ง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ กับความถี่ในการนำส่งและปริมาณต่ำสุดในการส่งสินค้า รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ระบบนี้ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180000 เหรียญสหรัฐต่อปี
คำถาม
1.จากตัวอย่างข้างต้นไม่มีการกล่าวถึงการใช้โมเดล ท่านคิดว่าระบบบริหารการส่งสินค้า
น่าจะจัดเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือไม่

คำตอบ  เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพราะระบบที่บริษัทซาน ไมเกล ใช้อยู่เป็นระบบที่ใช้การคำนวณความสมดุลต่างๆ รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าที่จะผลิต และช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสม

2. ข้อมูลใดที่ควรต้องนำมาประกอบการตัดสินใจว่าจะส่งสินค้าแต่ละชนิดไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าต่างๆ เมื่อใด และจำนวนเท่าไร
คำตอบ ระบบสามารถกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180000 เหรียญสหรัฐต่อปี

นางสาววรรณี  เชื่อมเป็น  การจัดการ  2/1

ERP

               ERP ย่อมาจากคำว่า Enterprise Resource Planning
                เป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเชื่อมโยงระบบต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า โดยที่มีฐานข้อมูลเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรข้อมูลให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ERP คืออะไร
  ห่วงโซ่ของกิจกรรมขององค์กร
                องค์กรธุรกิจประกอบกิจกรรมธุรกิจในการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า  กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรม  สร้างมูลค่า   ของทรัพยากรธุรกิจให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการและส่งมอบ มูลค่านั้นให้แก่ลูกค้า โดยกระบวนการสร้างมูลค่าจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนจะรับผิดชอบงานในส่วนของตน และมูลค่าสุดท้ายจะเกิดจากการประสานงานระหว่างแต่ละส่วนหรือแผนกย่อยๆ  ดังนั้นกิจกรรมที่สร้างมูลค่านั้น ประกอบด้วยการเชื่อมโยงของกิจกรรมของแผนกต่างๆ ในองค์กร  การเชื่อมโยงของบริษัทเพื่อให้เกิดมูลค่านี้ เรียกว่า ห่วงโซ่ของมูลค่า (value  chain)”
ระบบ ERP หมายถึงอะไร
                       ERP   ย่อมาจาก  Enterprise  Resource  Planning  หมายถึง  การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
                       ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ      ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
                   ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time 
นางสาววรรณี  เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1

สรุปบทที่ 9

สรุปบทที่ 9
             ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรคอมพิวเตอร์พยายามพัฒนาอุปกรณ์ และชุดคำสั่งที่สามารถลอกเลียนความฉลาดของมนุษย์ เช่นการเรียนรู้จากประสบการณ์ การใช้ความรู้สึกในการประเมินสถานการณ์ เป็นต้น
            ปัจจุบันการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับ AI แยกระบบความฉลาดออกเป็นหลายสาขาด้วยกัน ซึ่งสามารถนำมากล่าวเพียง 5 สาขาดังนี้
-         การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing )
-         ระบบภาพ (Vision System)
-         ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)
-         หุ่นยนต์ (Robotics)
-         ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
               ระบบผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ให้คำปรึกษาที่ลอกเลียนกระบวนการใช้เหตุของผู้เชี่ยวชาญในสาขาความรู้นั้น โดยปกติธุรกิจมีเหตุผลสำคัญในการพัฒนา ES ดังนี้
-         กระจายความรู้ (Knowledge Distribution)
-         ความแน่นอน (Consistency)
-         การเตรียมสำหรับอนาคต
            ประโยชน์ของ ES
-         รักษาและป้องกันความรู้สูญหาย
-         เตรียมความพร้อมของข้อมูล
-         เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท
-         สามารถตัดสินใจปัญหาได้อย่างแน่นอน
-         เครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ
                การพัฒนาระบบ ES นับว่ามีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในที่นี้พอสรุปได้ 5 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์ปัญหา การเลือกอุปกรณ์ การถอดความรู้ การสร้างต้นแบบ และการขาย การทดสอบ และการบำรุง
                ระบบเครือข่ายเส้นประสาทเป็นอีกแขนงหนึ่งของ AI ที่ได้รับความสนใจศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานแก้ปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาการตามประสบการณ์เนื่องจากระบบเครือข่ายเส้นประสาทจะเลียนแบบการทำงานของสมอง และระบบประสาทมนุษย์   โดยระบบจะสัมผัส เรียนรู้ จดจำ และปฏิบัติงานตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพตามการออกแบบ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทำให้ระบบเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นางสาววรรณี  เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1

แบบฝึกหัดบทที่ 9

แบบฝึกหัดบทที่ 9
1.             จงอธิบายความหมายของระบบความฉลาดและปัญญาประดิษฐ์
          ระบบความฉลาด หมายถึงระบบที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถกล่าวได้ว่า มีความฉลาดตามความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มักจะเรียนว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI  เนื่องจากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นสาขาวิชาที่มีการพลวัตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความหมายและความเข้าใจในหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
          AI  หมายถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามรถเรียนรู้ ใช้เหตุผล และปรับปรุงข้อบกพร่องของตนให้ดีขึ้น
2.             AI มีการดำเนินงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไปอย่างไร
               ปัญญาประดิษฐ์                                                                ระบบสารสนเทศทั่วไป
-                   ประมวลสัญลักษณ์และตัวเลข                          - ประมวลทางคณิตศาสตร์
-                   ไม่ดำเนินตามขั้นตอน                                       - วิเคราะห์และแก้ปัญหาตาม
                                                                                                         ขั้นตอนทางคณิตศาสตร์
-                   ให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบแผน
3.             เราสามารถจำแนก AI ออกเป็นกี่ประเทศ อะไรบ้าง
1.             การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
2.             ระบบภาพ (Vision System)
3.             ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Neural Networks)
4.             หุ่นยนต์ (Robotics)
5.             ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
4.             ระบบผู้เชี่ยวชาญคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก AI อย่างไร
                  ระบบสารสนเทศหมายถึงชุดค่ำของคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมความรู้เกี่ยวกับปัญหาเฉพาะเรื่อง และกระบวนการอนุมานเพื่อนำไปสู่ผลสรุปขอปัญหานั้น โดยความรู้ที่เก็บรวบรวมอาจเป็นความรู้ที่ถูกบันทึกอย่างเป็นทางการในเอกสารต่าง ๆ หรือเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
5.             จงเปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างระหว่างฐานความรู้กับฐานข้อมูล
ความแตกต่างของความรู้และข้อมูล
-                   ความชัดเจน
-                   ความเป็นสากล
      6.  เราสามารถประเมินความรู้ระบบสารสนเทศว่ามีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความรู้อย่างไร
7.จงอธิบายขั้นตอนในการพัฒนา ES ตลอดจนเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการพัฒนา ES กับการพัฒนาระบบสารสนเทศปกติ
            กระบวนการพัฒนา ES ออกเป็น 5 ขั้นตอน
1)            การวิเคราะห์ปัญหา  ผู้พัฒนาระบบความฉลาดจะดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำระบบไปใช้งานในสถานการณ์จริงโดยทำเข้าใจกับปัญหา จัดขั้นตอนในการแก้ปัญหา การกำหนดรูปแบบของการให้คำปรึกษา ตลอดจนรวบรวมความเข้าใจในสาระสำคัญที่จะนำมาประกอบการพัฒนาระบบ
2)            การเลือกอุปกรณ์ ผู้พัฒนาระบบต้องพิจารณาเลือกอุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของ ES ซึ่งแต่ละส่วนจะมีความต้องการอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมแตกต่างกัน โดยพิจารณาความเหมาะสมของส่วนประกอบที่สำคัญ
3)            การถอดความรู้ การถอดความรู้เป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนา ES ซึ่งเราสามารถกล่าวได้ว่า เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบความฉลาด
4)            การสร้างต้นแบบ ผู้พัฒนา ES นำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวประกอบารสร้างต้นแบบ ของ ES โดยผู้พัฒนาระบบจะเริ่มต้นจากกากนำแนวความคิดความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบที่ต้องการพัฒนาจัดเรียงลำดับ โดยเริ่มจากเป้าหมายหรือคำตอบของการประมวล การไหลเวียนทางตรรกะของปัญหา ขั้นตอนแสดงความรู้ การจัดลำคับของขั้นตอนที่จำเป็น พร้อมทั้งทดสอบการทำงานองต้อนแบบที่สร้างขึ้นว่า สามารถทำงานได้ตามที่ได้วางแผนไว้
5)            การขยาย การทดสอบ แลการบำรุงรักษา หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้นและสามารถผ่านการทดสอบการทำงานแล้ว เพื่อที่จะให้ระบบสามารถนำไปใช้ในสภาวการณ์จริงได้ ก็จะทำให้การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นจากต้นระบบ โดยเฉพาะสวนที่เป็นฐานความรู้ เป็นส่วนที่ใช้อธิบายส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้ และตกแต่งหน้าจอให้มีความเหมาะสมการใช้งานมากขึ้น เมื่อระบบ
ถูกขยายขึ้นแล้วก็ต้องมีการทดสอบระบบอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ในกรณีศึกษาที่ทีมพัฒนาพอรู้คำตอบแล้ว เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบว่าได้ทำงานอย่างถูกต้องหรือไม่ เมื่อได้ผ่านการทดสอบแล้ว ก็พร้อมที่จำเป็นใช้จริงได้ ก็ควรมีหลักเกณฑ์หรือขั้นตอนในการบำรุงรักษาและปรับปรุงอยู่เสมอฐานความรู้ ฐานความรู้ควรต้องได้รับการเพิ่มความรู้ลงไปเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ระบบสามารถมีความรู้เพียงพอในการแก้ปัญหาต่างๆ
8. วิศวกรรมความรู้คืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างระหว่างการพัฒนา ES กับพัฒนาระบบสารสนเทศปกติ
        วิศวกรความรู้ ซึ่งมีความแตกต่างจาก นักวิเคราะห์และนัดออกแบบระบบ” เองจากวิศวกรความรู้จะใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลของการวิเคราะห์และตัดสินใจในปัญหาทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ โยข้อมูลที่ได้จะยากการอธิบายเหตุผลในการตัดสินใจของบุคคลในแต่ละครั้ง ขณะที่นักวิเคราะห์ระบบจะพัฒนาระบบสารสนเทศจากข้อมูลทางตรรกะและคณิตศาสตร์

9. จะอธิบายการทำงานของระบบเครือข่ายใยประสาท
                ระบบเครือข่ายเส้นประสาทเป็นอีกแขนงหนึ่งของ AI ที่ได้รับความสนใจศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานแก้ปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาการตามประสบการณ์เนื่องจากระบบเครือข่ายเส้นประสาทจะเลียนแบบการทำงานของสมอง และระบบประสาทมนุษย์   โดยระบบจะสัมผัส เรียนรู้ จดจำ และปฏิบัติงานตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพตามการออกแบบ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทำให้ระบบเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10.ท่านคิดว่าแนวโน้มและทิศทางในการพัฒนาระบบความฉลาดของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทางใด
                การพัฒนาความฉลาดของระบบคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เมื่อเปรียบเทียบกับความฉลาดของมนุษย์ยังมีความซับซ้อนเกินกว่าที่ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะสามารถลอกเลียนแบบได้อย่างสมบูรณ์
                การนำระบบความฉลาดมาประยุกต์ในทางธุรกิจจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ และทำให้ธุรกิจมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็ว ตลอดจนทำให้บุคคลสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงการพัฒนาผลิตภาพขององค์การ

นางสาววรรณี  เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด 5 ข้อ

ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดต่อไปนี้
1.             ถ้านักศึกษาเป็นผู้บริหารในองค์การ จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการแข่งขันด้านการตลาดของตนอย่างไร และมีข้อสังเกตอย่างไรกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน
1. ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย จะประกอบด้วย
1.1 ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายข่าย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ระบบต้องการอาจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคาและการโฆษณาต่าง ๆ
1.2 ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขาย ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติมโตของสินค้า
1.3 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า จะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมประสิทธิภาพ
2. ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด จะประกอบด้วย
2.1 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า การวิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขตของการใช้สารสนเทสกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องทราบสารสนเทศที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยม และพฤติกรรมการบริโภค
2.2 ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ลผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกจำหน่วย ซึ่งอาจจะครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สารสนเทศที่จำเป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือ สภาวะและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดี่ยวกันในตลาด รวมทั้งภาวการณ์แข่งขันของผลิตภัณฑ์
                3. ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
             เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้าและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้สูงขึ้น สารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าตัวใดต้องทำการวางแผนการส่งเสริมการขายอย่างไร
            4. ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ
              เป็นระบบที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด สารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดี่ยวกันในอดีต
               5. ระบบสารสนเทศสำหรับการพยากรณ์การขาย
           เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมารที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สภาวะการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา
6. ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
               เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ โดยสารสนเทศต้องการคือ สารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
             การกำหนดราคาทางการตลาด จะต้องคำนึงถึง ความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งราคาจากต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ สารสนเทศที่ต้องการคือ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงให้ได้สัดส่วนของกำไรที่ต้องการ
8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย
          การควบคุมค่าใช้จ่าย สามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไรกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อน

2. ทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์จงสามารถคิดได้  อธิบายเหตุผล
เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์และชุดคำสั่งสามารถลอกเลียนความฉลาดของมนุษย์ได้มีการกำหนดขอบเขตและหน้าที่อุปกรณ์และชุดคำสั่งต้องปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการของระบบเป็นไปตามความต้องการ

3. ทำไมแนวโน้มของระบบสารสนเทศจึงมีการนำไปสนับสนุนงานธุรกิจหลายค้า
เพราะ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
   1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
   2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
 3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
 4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)

 


4. จงยกตัวอย่างของบริษัทที่นำระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยทางธุรกิจ
ซีพีเอฟร่วมมือพัฒนาโปรแกรมกับบริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในการการติดตั้งระบบ Agile Product Lifecycle Management for Process – PLM เพื่อใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในทุกขั้นตอนการผลิต ของกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูป กุ้งสด ไก่แปรรูป อาทิ ไก่เทอริยากิ ไก่ห่อสาหร่าย ไก่ทอดคาราเกะ และผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมทานทั้งหมด (Ready meal) เพื่อช่วยให้หน่วยงาน R&Dจะสามารถวิเคราะห์ส่วนผสมต่างๆ ไปพร้อมๆ กับการตรวจสอบในแบบเรียลไทม์ว่า วัตถุดิบส่วนผสมที่ใช้นั้นเป็นไปตามกฎระเบียบของรัฐบาลและข้อจำกัดของตลาดหรือไม่

5. ถ้านักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นผู้บริหาร หรือเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ นักศึกษาคิดที่จะนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงให้เหตุผล
                                ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจจะนำระบบสารสนเทศมาใช้ เพราะ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความแข็งแกร่งเชิงกลยุทธ์  โดยพัฒนาความสามารถในการแข็งขันให้กับองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ขององค์การมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การผลิต การขาย การจัดการทางเงิน และทรัพยากรบุคคล



นางสาววรรณี เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1

สรุปบทที่ 8

สรุปบทที่ 8
          การดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนและมีความรุนแรในการแข่งขัน ทำให้ผู้บริหารต้องสามารถตัดสินใจอย่างถูกต้อง รวดเร็ว จึงต้องอาศัยสารสนเทศที่เหมาะสมดังที่มีผู้กล่าวว่า สารสนเทศคืออำอาจ ทุกองค์กรจึงต้องจัดหาและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ แต่บุคลากรบางกลุ่มในองค์การจะมีความต้องการสารสนเทศที่เฉพาะ เช่น ผู้บริหารจะมีความแตกต่างจากผู้ใช้ข้อมูลในระดับอื่นที่ต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ง่าต่อการตัดสินใจ ไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลอีก ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารหรือ EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการสารสนเทศของผู้บริหารให้มีความต้องการข้อมูลที่มีความแตกต่างจากบุคลากรกลุ่มอื่นขององค์การ โดยเฉพาะลักษณะงานของผู้บริหารในปัจจุบันหนึ่งเกิดขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อองค์การ
                ปัจจุบันมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคลากรที่เข้ารับการสัมมนาระยะสั้น หรือผู้ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่สมบูรณ์ โดยคิดว่าระบบสารสนเทศเป็นแก้วสารพัดนึกที่ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลทุกประเภทเฉพาะ EIS ประการสำคัญเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์การยังมีความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดความหวังที่คลาดเคลื่อนจากความสามารถของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะมีผลต่อความประทับใจ ความเชื่อมั่น และการสนับสนุนต่อการพัฒนาระบบในอนาคต
นางสาววรรณี เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1

แบบฝึกหัดบทที่ 8

แบบฝึกหัดบทที่ 8
1.เหตุใดการตัดสินใจของผู้บริหารจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ
ผู้บริหารมีหน้าที่และความรบผิดชอบต่อการดำเนินทิศทางในอนาคตขององค์การ ผ่านการตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสำคัญทางธุรกิจซึ่งการตัดสินใจของผู้บริหารโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง จะมีผลไม่เพียงพอต่อการดำเนินการงานในระยะสั้น แต่ครอบคลุมถึงความอยู่รอด ความมั่นคง และความเจริญเติบโตขององค์การ

2. สารสนเทศสำหรับผู้บริหารมีคุณลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากสารสนเทศสำหรับบุคคลอื่นในองค์อย่างไร
                1. ไม่มีโครงสร้าง
                2. มีความไม่แน่นอน
                3. ให้ความสำคัญกับสถานการณ์ในอนาคต
                4. แหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ
                5. ไม่แสดงรายละเอียด

3. ปกติผู้บริหารได้รับข้อมูลในการตัดสินใจแหล่งใดบ้าง ตลอดจนข้อมูลจากแต่ละแหล่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้บริหารอย่างไร
                ผู้บริหารจะได้รับแหล่งข้อมูลจาก 3 แหล่ง
1.             ข้อมูลที่ได้รับจากกระบวนการดำเนินงาน (Transacticon Proceing Data ) เป็นข้อมูลที่แสดงผลการปฏิบัติงานขององค์การ หน่วยงาน หรือระบบที่สนใจ ข้อมูลจากการดำเนินงานช่วยสร้างความเข้าใจและสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต
2.             ข้อมูลจากภายในองค์การ (Internal Data) เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นภายในองค์การ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายหรือผลการดำเนินงานของกิจกรรม และโครงสร้างการด้านต่าง ๆ ขององค์การ
3.             ข้อมูลจากภายนอกองค์การ (External Data) ปัจจัยภายนอกมีผลกระทบต่อองค์การ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวิทยาการในประเทศหนึ่งจะมีผลเกี่ยวเนื่องไปทั่วโลก


4. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อศักยภาพในการแข่งขันขององค์การในยุคปัจจุบัน
                ความรวดเร็วในการเข้าถึงและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ตลอดจนการกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลของคนหมู่มาก ส่งผลให้ผู้บริหารองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจ ต้องสามารถทำการตัดสินใจในทางเลือกของการแก้ปัญหาทางและโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การดำเนินงานและปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยลดความไม่แน่นอนและความผิดพลาดในการตัดสินใจลง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างระดับผู้บริหารระดับสูงกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังมิได้เป็นความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเท่านั้น

5. จงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมทักษะทางสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารระดับสูง
ความรวดเร็วในการเข้าถึงและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีที่หนึ่งตลอดจนการกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลขอคนหมู่มาก ส่งผลให้ผู้บริการองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจต้องสามารถทำการตัดสินใจทางเลือกของการแก้ปัญหาและโอกาสอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การดำเนินงานและปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมซึ่งจะช่วยลดความไม่แน่นอนและความผิดพลาดในการตัดสินใจลง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับเทคโนโลยีสารสนเทศยังมิได้เป็นความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการส่งเสริมการนำระบบสารสนเทศมาช่วยงานทางธุรกิจด้วย

6. จงอธิบายความหมายและคุณลักษณะเฉพาะทางของ EIS
                ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
ลักษณะเฉพาะของ EIS
ลักษณะ
รายละเอียด
- ความถี่ในการใช้งาน
- ค่อนข้างบ่อยถึงบ่อยมาก
- ทักษะทางคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
- ไม่จะเป็นต้องมีทักษะสูง เนื่องจากผู้ใช้    สามารถเรียนรู้และใช้งานได้ง่าย
- ความยืดหยุ่น
- สูงและสามารถปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหารได้
- การใช้งาน
- การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ การแก้ไขวิกฤต การตรวจสอบ และการควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ
- การตัดสินใจ   
- มีข้อมูลไม่ชัดเจน มีความไม่แน่นอนสูง และไม่มีโครงสร้าง
- แหล่งที่มาของข้อมูล    
- ต้องการข้อมูลทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ
- การแสดงข้อมูล             
- มีการนำเสนอข้อมูลในหลายรูปแบบ
- การตอบสนอง
-  ชัดเจน รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ


7. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง EIS , DSS และ MIS
                EIS และ DSS ต่างถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ แต่ทั้ง 2 ระบบจะมีความแตกต่างกันในระดับของานใช้งาน การนำเสนอข้อมูล และความยากง่ายในการใช้ โดยสามารถกล่าวได้ว่า EIS เป็น DSS ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อตอบสนองความต้องกการด้านสารสนเทศในการตัดสินใจแก้ปัญหา และการดำเนินงานของผู้บริหารที่ไม่ต้องการข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องสมบูรณ์ แต่ต้องสร้างความเข้าใจและให้ภาพรวมของระบบหรือปัญหาที่ผู้บริหารสนใจ โดย EIS อาจได้รัยการออกแบบและพัฒนาจากฐานข้อมูลของ DSS เพื่อให้ผู้บริหารสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และช้างานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนคณะที่ปรึกษาและผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องใน DSS ` ถ้าผู้บริหารเกิดความต้องการข้อมูลมากกว่าที่ EIS ถูกพัฒนาขึ้น

8. คุณสมบัติสำคัญของ EIS มีอะไรบ้าง
                1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์
                2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
                3. มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง
                4. งายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
                5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร


9. ข้อดีและข้อจำกัดในการนำ EIS มาใช้งานในองค์การมีอะไรบ้าง
               
ข้อดี
ข้อจำกัด
-ง่าต่อการใช้งานของผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
-มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
-ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
-ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
-ยากต่อการประเมินประโยชน์ และผลตอบแทนที่องค์กรไดรับ
-ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
-ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
-สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
-ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล


10.ท่านคิดว่าความเห็นมีการประยุกต์ EIS ในองค์กรในประเทศหรือไม่ จงอธิบาย
ปัจจุบันพัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาววรรณี เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1