วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

10 สุดยอดผลไม้กินแล้วไม่อ้วน

10 สุดยอดผลไม้กินแล้วไม่อ้วน
         ผลไม้ 10 ชนิดต่อไปนี้ จัดเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ และ กินได้บ่อยๆ แบบไม่ต้องกลัวอ้วน ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย ผลไม้ทั้ง 10 ชนิดนี้มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเฉลี่ย 1.9 – 10 กรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม โดยอะโวกาโดมีคาร์โบไฮเดรตต่ำสุด แอปเปิลมีคาร์โบไฮเดรตสูงสุด



         1.             กีวี - มีสารแอกทินิดีน ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทำให้หัวใจแข็งแรง
2.             มะเขือเทศ - ช่วยลดความเสียงจากมะเร็งและโรคหัวใจ
3.             มะละกอ – ช่วยย่อยอาหารและโปรตีน
4.             อะโวกาโด –  ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ถึง 30 ชนิด
5.             สับปะรด ช่วยต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
6.             ผลไม้จำพวกเบอร์รี่ เช่น สตอเบอร์รี่ แบลคเบอร์รี่ ผลไม้กลุ่มนี้ดีต่อระบบไหลเวียนโลหิต
7.             แครนเบอร์รี่ ช่วยป้องกันนิ่วในไต ต้านเชื้อไวรัส
8.             ผลไม้ตระกูลส้ม ช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเส้นเลือด
9.             ผลไม้กลุ่มแตง มีสรรพคุณสูงสุดในการล้างพิษให้กับร่างกาย
10.      แอปเปิ้ล ช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร
นางสาววรรณี  เชื่อมเป็น  การจัดการ 2/1
 ที่มา http://www.hilunch.com/10-fruits-no-fat

แอ็ปเปิ้ลหลากสีต้านโรค

"แอ็ปเปิ้ลหลากสีต้านโรค"




             ด้วยรูปร่างน่าตาที่น่ารัก กลิ่นหอม รสชาติอร่อย แถมมีประโยชน์ให้ได้พูดถึงกันอยู่ไม่ขาดสาย ทำให้
แอ๊ปเปิ้ลครองใจสาวๆ หลายคน ว่าแต่เพื่อนๆ เคยสงสัยไหมคะว่า แอ๊ปเปิ้ลแต่ละสีนั้นให้ประโยชน์ต่างกัน
อย่างไร
        แอ็ปเปิ้ลแดง เป็นที่คุ้นตากันที่สุด โดยเฉพาะพันธุ์ “Red delicious” ที่มีจุดเด่นในเรื่องสุขภาพ
คือมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์มากที่สุด และยังมีอิลาสตินและคอลลาเจนที่ดีต่อสุขภาพผิวด้วยค่ะ
        แอ๊ปเปิ้ลสีชมพู เช่น แอ๊ปเปิ้ลพันธุ์ “Fuji” นั้น มี ฟิโนลิก มากที่สุดในบรรดาเพื่อนๆ แอ๊ปเปิ้ลด้วยกัน
ซึ่งสารนี้ช่วยยับยั้งการเกิดฝ้า ชะลอความแก่ นอกจากนั้นยังมี ฟลาโวนอยด์ ช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินซี ทำ
 ให้ผนังหลอดเลือดฝอยแข็งแรง ลดการอักเสบ ลดไข้ รวมทั้งช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันได้ด้วย
        แอ๊ปเปิ้ลสีเขียว รสเปรี้ยวอมหวาน เป็นขวัญใจคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักก็มีดี ไม่แพ้ใคร เพราะ
การกินแอ๊ปเปิ้ลสีเขียว อย่างพันธุ์ “Granny Smith” นอกจากจะได้รับน้ำตาลน้อยแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้าง
อิลาสตินและคอลลาเจน ที่ช่วยให้ผิวแข็งแรงยืดหยุ่นได้ดี
        แอ๊ปเปิ้ลสีเหลือง เป็นแอ๊ปเปิ้ลที่ออกจะมีประโยชน์ฉีกแนวต่างจากเพื่อนๆ เพราะ แอ๊ปเปิ้ลสีเหลือง
อย่างพันธุ์ “Golden Delicious” มีสารเคอร์เซตินที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ
และต้อกระจก

 นางสาววรณี เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/new.php



ผลไม้มงคลของไทย

ลไม้มงคลของไทย มี5 อย่าง
           1. ลำไย เป็นผลไม้มงคล ซึ่งคนจีนบางกลุ่มนำไปใช้ร่วมกับพิธีการสูง เพราะเชื่อกันว่า เป็นสัญลักษณ์ของความรัก ความหวานชื่น สำหรับหนุ่มสาวในงานพิธีมงคลนั้นๆ ลำไยภาาจีนแปลว่า ดวงตามังกร ซึ่งมังกรเป็นสัญลักษณ์ของ      ฮ่องเต้เมืองจีน ดังนั้นหมายถึง ความเป็นผู้ที่มีอำนาจ เป็นผู้นำปวงชน และเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือ ฉะนั้น ลำไยคือผลไม้มงคลที่เชื่อว่า เป็นตัวแทนแห่งความรัก ความเป็นผู้นำ และความมีอำนาจวาสนา
     2. ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ชั้นสูงของคนจีนมาเป็นเวลานานแล้ว มีเรื่องเล่ากันว่า ฮ่องเต้ของเมืองจีนในสมัยหนึ่ง ต้องให้ทหารผู้ที่ดูแลพระองค์จัดหาลิ้นจี่น ผิวสวยสีแดงสด เพื่อนำไปถวายพระมารดา และพระมเหสีของพระองค์เป็นประจำ จึงเกิดการแพร่หลายไปในขุนนางชั้นสูงต่อกัน จนเป็นที่รู้กันทั่วไป เพราะผลที่มีสีแดงของลิ้นจี่นี่เอง ทำให้เป็นที่นิยมนำลิ้นจี่ไปใช้ในงานมงคล ฉะนั้น ลิ้นจี่คือผลไม้ที่มีสีแดงสด ซึ่งคนจีนถือว่าเป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคง
     3. สับปะรด เป็นผลไม้มงคล ที่คนนิยมนำไปไหว้ในพิธีการต่างๆ เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดความรอบคอบ รอบรู้ในสิ่งต่างๆ ดูแลกิจการงานได้ทั่วถึง สายตากว้างไกล ประดุจดั่งสับปัรดที่มีดวงตารอบตัว ฉะนั้น สับปะรดคือผลไม้แห่งความมงคลที่เชื่อถือว่า เป็นตัวแทนแห่งความรอบคอบ รอบรู้ สายตากว้างไกล
     4. กล้วย เป็นผลไม้มงคลแห่งการแตกหน่อ แตกสาขา ซึ่งในธรรมชาติของต้นกล้วยนั้น สามารถแตกหน่อไปได้เรื่อยๆ โดยไม่มีวันจบ กล้วยยังเป็นผลไม้แห่งการเชื่อถือในด้านการ มีบริวารมากมาย เฉกเช่นเดียวกับกล้วย 1 เครือที่มีลูกเป็นจำนวนมาก บางคนนิยมรับประทานกล้วยที่มีผลแฝดคู่กัน เพื่อจะได้มีลูกที่คลอดออกมาเป็นลูกแฝด ฉะนั้น กล้วยคือผลไม้มงคล ที่เชื่อว่าเป็นตัวแทนแห่งการขยายสาขา กิจการ การมีบุตรสืบสกุล มีบริวารมาก
       5. ทุเรียน เป็นผลไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในตัวเองมาก มีเนื้อในที่สวยงาม สีเหลืองดั่งทองคำ ด้วยความฉลาดหลักแหลมของธรรมชาติ จึงได้สร้างเกราะคุ้มกันเนื้อในสีทอง โดยการสร้างหนามแหลมคมรอบตัว เพื่อป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ มารบกวน ฉะนั้น ทุเรียนจึงเป็นผลไม้มงคลที่ชื่อว่า เป็นตัวแทนของความฉลาดหลักแหลม เข้มแข็ง สามารถป้องกันตนเองได้
นางสาววรณี เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1


วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุป บทที่ 2

ข้อมูลหมายถึงข้อมูลที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก โดยข้อมูลดิบจะยังไม่มีความหมายในกานนำไปใช้ประโยชน์หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ขณะที่สารสนเทศ หมายถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่สามารถนำไปประกอบการทำงานหรือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
                ข้อมูลที่มีคุณภาพต้องมีคุณสมบัติดั้งนี้ ถูกต้อง ทันเวลา สอดคล้องกับงาน
สามารถตรวจสอบได้
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหมายถึงระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ
                ปัจจุบันผู้จัดการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการระดับกลาง และหัวหน้าพนักงานระดับปฏิบัติงาน ต่างเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยมีระดับการใช้งานสำคัญที่แตกต่างกัน อย่างงไรก็ดี ผู้จัดการทุกคนต่างต้องมีความรับผิดชอบในการใช้งานระบบสานสนเทศขององค์การ โดยมีบทบาทสำคัญดังต่อไปนี้
-                   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
-                   เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวลล้อมยุคโลกาภิวัตน์
-                   ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
-                   มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
-                   บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารโทรคมนาคม
-                   การจัดและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
-                   ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการทำงานแก่ผู้ใช้อื่น
-                   เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
หน่วยการสารสนเทศอาจเป็นหน่วยงานอิสระหรือขึ้นตรงกับหน่วยงานหลัก เช่น การเงิน การตลาด หรือปฏิบัติการ ตลอดจนอาจถูกจัดตั้งแยกออกจากองค์การตามความเหมาะสมและความต้องการสารสนเทศ อย่างไรก็ดี การจัดการองค์การภายในหน่วยงานสารสนเทศจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ หน่วยเขียนชุดคำสั่ง และหน่วยปฏิบัติการและบริการ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า IT ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามย่อมมีผลกระทบบุคคล องค์การ หรือสังคมทั้งทางบวกและทางลบ และจะเห็นเห็นได้ว่าระบบข้อมูลสารสนเทศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลดอภัยของข้อมูล เนื่องจากการพัฒนา IT ทำให้เกิดผู้แพ้ ผู้ชนะ ผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์ ดังนั้นจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญของผู้ที่ทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศต้องตระหนักและให้ความสำคัญ โดยผู้ทำงานกับระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วนด้วยกัน
คือ ความเป็นส่วนตัว ความถูกต้อง ความเป็นเจ้าของ และการเข้ามาใช้ข้อมูล

นางสาววรรณี เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1
อ้างอิง   หนังสือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1.       นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management  Information Systems) หรือ MIS หมายถึงระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น การบันทึกข้อมูล การจัดทำทะเบียนประวัติ
2.       ข้อมูลและระบบสารสนเทศมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ  มีความต่างกัน ข้อมูล  หมายถึงข้อมูลดิบ (Raw Data)  ที่ถูกเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยข้อมูลจะยังไม่มีความหมายในกานนำไปใช้งาน  หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้
                สารสนเทศ หมายถึง ผลที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงานหรือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
3.       สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
      ตอบ        1.) ถูกต้อง
2.) ทันเวลา
3.) สอดคล้องกับงาน
4.) สามารถตรวจสอบได้
      4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
                ตอบ 1.) เข้าถึงสารสนเทศ
                        2.) การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติ
                        3.) ตรวจสอบผลการดำเนินงาน
                       4. )ศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
                       5. )การวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรค
                       6.) ลดค่าใช้จ่าย
     5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
                ตอบ        1.) ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล
                                2.) ความปลอดภัยของข้อมูล
                                3.) ความยืดหยุ่น
                                4.) ความพอใจของผู้ใช้
    6.  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
                ตอบ        มี 3 ระดับ 1. )หัวหน้าระดับต้น (First-Line Supervisor หรือ Operation Manager)
                                                 2.) ผู้จัดการระดับกลาง (Middle Manager)
                 3.) ผู้บริหารระดับสูง(Executive หรือ Top Manager)
     7.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ


ลักษณะของระบบ
ระดับของผู้ใช้
ผู้จัดการระดับ
ปฏิบัติการ
ผู้จัดการระดับ
กลาง
ผู้จัดการระดับสูง
- ที่มาของสารสนเทศ
-ภายใน
-ภายใน
-ทั้งภายในและภายนอก
-วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ
-ปฏิบัติงาน
-ควบคุมผลปฏิบัติงาน
-วางแผน
-ความถี่ของการใช้สารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ไม่แน่นอน
-ขอบเขตของสารสนเทศ
-แคบแต่ชัดเจน
-ค่อนข้างกว้าง
-กว้าง
-ความละเอียดของสารสนเทศ
- มาก
-สรุปกว้าง ๆ
-สรุปชัดเจน
- การรายงานเหตุการณ์
- ที่เกิดขึ้นแล้ว
- เกิดแล้ว/กำลังจะเกิด
- อนาคต
- ความถูกต้องของสารสนเทศ
- สูง
- ปานกลาง
- ตามความเหมาะสม

               
8. ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานสารสนเทศขององค์การอย่างไร
     ตอบ  1.) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
                2.) เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตน์
                3.) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
                4. )มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
                5.) บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารโทรคมนาคม
                6.) การจัดและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
                7. )ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานแก่ผู้ใช้อื่น
                8. )เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
9. โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
     ตอบ โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งเป็น 3 ส่วน
1.)        หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design Unit)
2.)         หน่วยเขียนชุดคำสั่ง(Programming Unit)
3.)        หน่วยปฏิบัติการและบริการ(Operations and Services Unit)
10. บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
    ตอบ  บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็น 7 ประเภท
1.)        หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ
2.)        นักวิเคราะห์และออกแบบ
3.)        ผู้เขียนชุดคำสั่ง
4.)        ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
5.)        ผู้จัดตารางเวลา
6.)        พนักงานจัดเก็บและรักษา
7.)        พนักงานจัดเตรียมข้อมูล
11. เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
                ตอบ เพราะ การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถทำให้เกิดการกระจายอำนาจในองค์การ การบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลหรือคู่แข่งขัน เป็นต้น ดั้งนั้นผู้ที่เกี่ยวก็จะต้องตระหนักถึงบุคคลรอบข้างด้วยว่ามีผลกระทบต่อใครบ้าง
12. จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                 ตอบ ผลกระทบทางบวก
1.)        เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการ และการผลิต เช่น ติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.)        เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
3.)        มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ในฐานข้อมูลความรู้
4.)        เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการหรือผู้ด้วยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย
5.)        พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่
6.)        การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
7.)        ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จาการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น
ผลกระทบทางลบ
1.)        ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
2.)        ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก เช่น การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3.)        ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
4.)        การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
5.)        การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
6.)        เกิดช่องว่างทางสังคม
7.)        เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เช่น ด้านการศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น
8.)        อาชญากรรมบนเครือข่าย เช่น ปัญหาอาชญากรรม
9.)        ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคคลั่งอินเทอร์เน็ต

นางสาววรรณี เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1
อ้างอิง หนังสือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ