วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่ 5

แบบฝึกหัดท้ายบทที่  5
1 . เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ  อะไรบ้าง
ตอบ    2 แบบ  คือ
1 . การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  (sequential  File  Organization) 
2 . การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  (Random  File  Organization  )
2 . จงอธิบายความหมาย  ตลอดจนข้อดีและข้อจัดกัดของการจัดการข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ  - การเข้าถึงข้อมูลแบบรวดเร็ว  เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง  ไม่ต้องผ่านแฟ้มข้อมูลอื่นเหมือนการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ
- สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย  เนื่องจากการปรับปรุงข้อมูลทำได้โดยง่าย  ไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับหรือรอเวลา
- มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงาน  ที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ  ตลอดจนมีระยะเวลาในการประมวลผลไม่แน่นอน
  แต่วิธีการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อจำกัดดังตอบไปนี้
-ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย  เนื่องจากการดำเนินงานมีความยืดหยุ่น  ถ้าขาดการจัดการที่เป็นระบบละมีประสิทธิภาพ  อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บ  ความถูกต้องและความแน่นอนของแฟ้มข้อมูล
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ  เนื่องจากต้องจัดรูปแบบความสัมพันธ์ขึ้นใหม่
- มีค่าใช้จ่ายสูง  เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง  และผู้ใช้ต้องมีทักษณะในการทำงานมากกว่าแฟ้มข้อมูลระบบเรียงลำดับ
3 . ฐานข้อมูลคืออะไร  และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ    ฐานข้อมูล  (Database)  หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน    ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ  เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล  และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตัวอย่างเช่น  องค์การจะมีบานข้อมูลของบุคลากรซึ่งเก็บข้อมูลของพนังงานไว้รวมกัน
4 . เราสามารถจำแนกแบบจำแบบโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ  3 ประเภท  คือ
1 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น (Hiearchical  Data  Model )
2 . แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย(Network  Data  Model  )
3 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Data  Model  )
5 . จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานงานแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท
ตอบ   5.1. ชนิดของแบบจำลอง
เชิงลำดับขั้น                                         เครือข่าย                                                เชิงสัมพันธ์
5.2. ประสิทธิภาพการทำงาน
สูง                                                           ค่อนข้างสูง                                           ต่ำ (กำลังพัฒนา)
5.3. ความยืดหยุ่น
ต่ำ                                                           ค่อนข้างต่ำ                                            สูงหรือต่ำ
5.4. ความสะดวกต่อการใช้งาน
ต่ำ                                                           ปานกลาง                                              สูง
6 . ระบบการจัดฐานข้อมูลคืออะไร  มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ตอบ  ระบบจัดการฐานข้อมูล  หมายถึง  ชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง  ควบคุม  และดูแลระบบฐานข้อมูล   เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล  คัดเลือกข้อมูล  และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานไดอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยที่  DBMS  จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ  กับหน่วยเก็บข้อมูล  ซึ่ง DBMS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่  3ส่วน คือ
1 . ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data  Definifion  Language ;DDL  )
2 . ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล  ( Data Manipuiation  Language; DML  )
3 . พจนานุกรมข้อมูล  (Data  Dictionary  )
7 . จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ  ผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการฐานข้อมูล  เพราะจะช่วยให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใขระบบได้ง่าย
8 . นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าสำคัญอย่างไร
ตอบ        1. กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
2 . พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล
3 . จัดทำหลักฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
4 . ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลทำงานอย่างปกติ
5 . ประสานงานกับผู้ใช้
9 . เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ  (CIO)   และ CIO  มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไร
ตอบ   เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานและการให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ  การที่องค์การเลือกใช้วิธีการจัดหน่วยงานบริหารข้อมูลแบบใด  ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน  และปัจจัยแวดล้อมเป็นสำคัญ
10 . จงอธิบายแนวโน้นของเทคโนโลยีฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ  ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์  (Centralized Database System)”ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องและยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน  เนื่องจากความสะดวกในการจัดการและคุณสมบัติของเทคโนโลยี   ทำให้ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาขึ้นตามลำดับ
นางสาววรรณี  เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1
ที่มา หนังสือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น