วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 5

สรุปบทที่ 5
การแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ และการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงาน และปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ
ฐานข้อมูล หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์กร เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผลและประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกตินักวิชาการจะแบ่งโครงสร้างข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะคือ โครงสร้างเชิงกายภาพและโครงสร้างเชิงตรรกะ โครงสร้างเชิงตรรกะซึ่งสามารถแยกอธิบายด้วยแบบจำออกเป็น 3 ประเภท แบบจำลองการจัดข้อมูลลำดับขั้น แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย และแบบจำลองการจัดข้อมูลชิงสัมพันธ์
ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS หมายถึงชุดคำสั่งหรือทำหน้าที่สร้าง ควบคุมและดูแลฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่าชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMS จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ภาษาสำหรับนิยามข้อมูลหรือ DDL ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลหรือ DML และพจนานุกรมข้อมูล
การบริหารฐานข้อมูลจะครอบคลุมไปถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูลทั้งเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ ตลอดจนการออกแบบ การปรับปรุง การใช้งาน และดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลจะถูกเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล หรือ DBA
นางสาววรรณี  เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1
ที่มา หนังสือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

แบบฝึกหัดบทที่ 5

แบบฝึกหัดท้ายบทที่  5
1 . เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ  อะไรบ้าง
ตอบ    2 แบบ  คือ
1 . การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  (sequential  File  Organization) 
2 . การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  (Random  File  Organization  )
2 . จงอธิบายความหมาย  ตลอดจนข้อดีและข้อจัดกัดของการจัดการข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ  - การเข้าถึงข้อมูลแบบรวดเร็ว  เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง  ไม่ต้องผ่านแฟ้มข้อมูลอื่นเหมือนการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ
- สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย  เนื่องจากการปรับปรุงข้อมูลทำได้โดยง่าย  ไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับหรือรอเวลา
- มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงาน  ที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ  ตลอดจนมีระยะเวลาในการประมวลผลไม่แน่นอน
  แต่วิธีการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อจำกัดดังตอบไปนี้
-ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย  เนื่องจากการดำเนินงานมีความยืดหยุ่น  ถ้าขาดการจัดการที่เป็นระบบละมีประสิทธิภาพ  อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บ  ความถูกต้องและความแน่นอนของแฟ้มข้อมูล
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ  เนื่องจากต้องจัดรูปแบบความสัมพันธ์ขึ้นใหม่
- มีค่าใช้จ่ายสูง  เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง  และผู้ใช้ต้องมีทักษณะในการทำงานมากกว่าแฟ้มข้อมูลระบบเรียงลำดับ
3 . ฐานข้อมูลคืออะไร  และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ    ฐานข้อมูล  (Database)  หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน    ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ  เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล  และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตัวอย่างเช่น  องค์การจะมีบานข้อมูลของบุคลากรซึ่งเก็บข้อมูลของพนังงานไว้รวมกัน
4 . เราสามารถจำแนกแบบจำแบบโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ  3 ประเภท  คือ
1 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น (Hiearchical  Data  Model )
2 . แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย(Network  Data  Model  )
3 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Data  Model  )
5 . จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานงานแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท
ตอบ   5.1. ชนิดของแบบจำลอง
เชิงลำดับขั้น                                         เครือข่าย                                                เชิงสัมพันธ์
5.2. ประสิทธิภาพการทำงาน
สูง                                                           ค่อนข้างสูง                                           ต่ำ (กำลังพัฒนา)
5.3. ความยืดหยุ่น
ต่ำ                                                           ค่อนข้างต่ำ                                            สูงหรือต่ำ
5.4. ความสะดวกต่อการใช้งาน
ต่ำ                                                           ปานกลาง                                              สูง
6 . ระบบการจัดฐานข้อมูลคืออะไร  มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ตอบ  ระบบจัดการฐานข้อมูล  หมายถึง  ชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง  ควบคุม  และดูแลระบบฐานข้อมูล   เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล  คัดเลือกข้อมูล  และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานไดอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยที่  DBMS  จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ  กับหน่วยเก็บข้อมูล  ซึ่ง DBMS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่  3ส่วน คือ
1 . ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data  Definifion  Language ;DDL  )
2 . ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล  ( Data Manipuiation  Language; DML  )
3 . พจนานุกรมข้อมูล  (Data  Dictionary  )
7 . จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ  ผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการฐานข้อมูล  เพราะจะช่วยให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใขระบบได้ง่าย
8 . นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าสำคัญอย่างไร
ตอบ        1. กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
2 . พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล
3 . จัดทำหลักฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
4 . ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลทำงานอย่างปกติ
5 . ประสานงานกับผู้ใช้
9 . เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ  (CIO)   และ CIO  มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไร
ตอบ   เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานและการให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ  การที่องค์การเลือกใช้วิธีการจัดหน่วยงานบริหารข้อมูลแบบใด  ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน  และปัจจัยแวดล้อมเป็นสำคัญ
10 . จงอธิบายแนวโน้นของเทคโนโลยีฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ  ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์  (Centralized Database System)”ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องและยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน  เนื่องจากความสะดวกในการจัดการและคุณสมบัติของเทคโนโลยี   ทำให้ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาขึ้นตามลำดับ
นางสาววรรณี  เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1
ที่มา หนังสือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

สรุปบทที่ 4

สรุปบทที่ 4
ผู้ใช้ระบบ หมายถึง ผู้จัดการที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์การและเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานกับระบบสารสนเทศ   ผู้ใช้จะเป็นบุคคลที่ใช้งานและปฎิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศโดยตรง เช่น จัดเก็บ ปรับปรุง ประมลผลข้อมูล และนำข้อมูลมาใช้งาน เป็นต้น
ข้อบกพร่องของระบบสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การมีดังนี้
1.             ความต้องการ
2.             กลยุทธ์
3.             เทคโนโลยี
4.             ความซับซ้อน
5.             ความผิดพลาด
6.             มาตรฐาน
ปัจจัยการพัฒนาระบบมีดังนี้
1.             ผู้ใช้ระบบ
2.             การวางแผน
3.             การทดสอบ
4.             การจัดการเอกสาร
5.             การเตรียมความพร้อม
6.             การตรวจสอบและประเมินผล
7.             การบำรุงรักษา
8.             อนาคต
ในการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ หรือเรียกว่า SA มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาระบบ ซึ่งนอกจากบทบาทสำคัญของนักวิเคราะห์ระบบคือ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนการเปลี่ยนแปลง หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบคือ การวางแผน การวิเคราะห์ระบบ และการออกแบบระบบ อีกทั้งระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศนักวิเคราะห์ระบบมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการอีกหลายหน้าที่ เช่น  ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่าง ๆ รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับเป็นต้น

                นางสาววรรณี เชื่อมเป็น  การจัดการ 2/1
      

แบบฝึกหัดบทที่ 4

แบบฝึกหัดบทที่ 4
1.             ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร
ตอบ                   ตั้งแต่เริ่มที่จะพัฒนาระบบใหม่ให้กับองค์การ โดยบุคคลหรือกลุ่มควรที่จะมีการพัฒนาระบบหรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานผู้พัฒนาระบบ เพื่อให้การพัฒนาระบบใหม่สำเร็จด้วยดีทั้งในด้านงบประมาณ กรอบของระยะเวลา และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
2.             ปัจจัยที่ช่วยในการพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
ตอบ   1. ผู้ใช้ระบบ
           2. การวางแผน
           3. การทดสอบ
           4. การจัดเก็บเอกสาร
          5. การเตรียมความพร้อม
          6. การตรวจสอบและประเมินผล
           7. การบำรุงรักษา
           8. อนาคต
3.  หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง
ตอบ   1. ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งผู้บริหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องตลอดช่วงระยะเวลาในการพัฒนาระบบ
           2. รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่
           3. วางแผนในแต่ละขั้นตอนของงานให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน และวางแผนให้สอดคล้องกับการขยายตัวขององค์การในอนาคตด้วย
          4. ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ
          5. วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ
          6. วิเคราะห์ข้อกำหนดด้านฐานข้อมูล รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลที่สามารถใช้กับงานต่าง ๆ ในระบบได้ และรองรับอนาคต
          7. ทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการะเคราะห์ระบบโดยละเอียด
          8. กำหนดลักษณะของเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
          9. สร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น และร่วมกันทดสอบโปรแกรมที่พัฒนา
         10. ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบรวมถึงการเตรียมแผนรองรับในการปรับเปลี่ยนระบบ
         11. จัดทำแบบสอบถามถึงการดำเนินงานของระบบใหม่ ที่ได้ติดตั้งไปแล้วในรูปแบบของรายงานผลการใช้งาน
         12. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ เป็นการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น รวมทั้งเป็นการปรับปรุงดัดแปลง หรือแก้ไขทั้งโปรแกรมและขั้นตอนการทำงานของระบบ เพื่อให้มีการทำงานที่ถูกต้องมากที่สุด
         13. เป็นผู้ให้คำปรึกษา ผู้ประสานงาน และผู้แก้ปัญหา ให้แก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนเกี่ยวข้องกับระบบ
4. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกัน
ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ และมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ ปกติการออกแบบและพัฒนาระบบสานสนเทศในองค์การขนาดใหญ่ จะต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกจากหลายส่วน โดยจัดรูปแบบการทำงานแบบโครงการ เนื่องจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และขอบเขตงานหลายครอบคลุมไปหลายส่วนงาน
        ประกอบไปด้วยบุคคลดังนี้
1.             คณะกรรมการดำเนินงาน
2.             ผู้จัดการระบบสารสนเทศ
3.             ผู้จัดการโครงการ
4.             นักเขียนโปรแกรม
5.             นักวิเคราะห์ระบบ
6.             เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล
7.             ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป
5.             วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศกี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ  4 วิธีดังนี้
1.             วิธีเฉพาะเจาะจง
2.             วิธีสร้างฐานข้อมูล
3.             วิธีจากล่างขึ้นบน
4.             วิธีจากบนลงล่าง
6.             การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ   5 ขั้นตอนดังนี้
1.             การสำรวจเบื้องต้น
2.             การวิเคราะห์ความต้องการ
3.             การออกแบบระบบ
4.             การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
5.             การติดต่อระบบและการบำรุงรักษา
7. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นตอนสำรวจเบื้องต้น
ตอบ  การวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ เป็นต้น
8. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
ตอบ   มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้อง
กับความต้องการของผู้ใช้  การใช้งานในแต่ละด้านของระบบใหม่ ข้อเด่นและข้อด้อยของวิธีการทำงานในปัจจุบัน ตลอดจนการจัดทำรายงานสรุป เพื่อนำเสนอต่อฝ่ายจัดการสำหรับทำการตัดสินใจ
9. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรในขั้นตอนออกแบบระบบ
ตอบ    ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วยประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย ปกติทีมงานพัฒนาระบบจะต้องทำการจัดหาสิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอ จากผู้ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทีมพัฒนาระบบจะพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละรายเพื่อนำอุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบมาติดตั้งและพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป
10. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้องการจากผู้ขาย ปกติทีมงานพัฒนาระบบต้องทำการจัดหามิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอจากผู้ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทีมงานพัฒนาระบบจะพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละรายเพื่อนำอุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบมาติดตั้งและพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป
11. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
ตอบ   ทีมงานพัฒนาระบบจะควบคุมและดุแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบใหม่โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา ทีมงานพัฒนาระบบต้องทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบไว้หรือไม่และการติดตั้งควรที่จะสำเร็จตามตารางที่กำหนด เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานแทนที่ระบบเก่าได้ทันเวลา
12. รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  4 รูปแบบ
1.             รูปแบบน้ำตก(Waterfll Model) วงจรการพัฒนาระบบแบบนี้ได้เผยแพร่ใช้งานในปี 1970 .. เป็นรูปแบบที่มีมานาน และเป็นที่นิยมใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
2.             รูปแบบวิวัฒนาการ(Evolutionary Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบวิวัฒนาการมีแนวความคิดที่เกิดมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการ โดยจะพัฒนาระบบจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเวอร์ชัน แรกก่อน จากนั้นจึงพิจารณาข้อดีข้อเสียของระบบ หาข้อผิดพลาดโดยการทดสอบและการประเมินระบบ จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบใหม่จนได้ระบบงานในเวอร์ชันที่ 2 เวอร์ชันที่ 3เวอร์ชันที่  4 และเวอร์ชันต่อ ๆ ไป จนกว่าจะได้ระบบที่สมบูรณ์ที่สุดแต่ต้องมีการวางแผนกำหนดจำนวนเวอร์ชันตั้งแต่เริ่มโตรงการพัฒนาระบบให้ชัดเจน
3.             รูปแบบค่อยเป็นค่อยไป(Incremental Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไปมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบวิวัฒนาการ แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ระบบที่ได้ในแต่ละช่วง  เนื่องจากระบบที่เกิดขึ้นในการพัฒนาขั้นแรกนั้นจะยังไม่ใช่ระบบที่สมบูรณ์ แต่เป็นระบบส่วนแรกเท่านั้นจากระบบที่ต้องการทั้งหมด จนเมื่อมีการพัฒนาในขั้นที่ 2 จึงได้ระบบที่มีส่วนที่ 2  เพิ่มเติมเข้าไป และจะมีการเพิ่มส่วนอื่นๆ เข้าไปจนครบทุกส่วน จนกลายเป็นระบบที่สมบูรณ์มากที่สุด เหมาะสมกับการพัฒนาระบบที่มีงานหลายส่วนที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน
4.             รูปแบบเกลียว (Spiral Model) วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบเกลียว จะมีลักษณะที่กระบวนหารวิเคราะห์ การออกแบบ และการพัฒนา จนวนกลับมาในแนวทางเดิมเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ระบบที่สมบูรณ์  การพัฒนาระบบงานด้วยวงจรการพัฒนาในรูปแบบนี้มีความยึดหยุ่นมากที่สุด  เนื่องจากจากระบวนการทำงานใน 1 รอบ ไม่จะเป็นต้องได้ระบบ และระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนในเละรอบนั้นจะใช้เวลาเท่าไรก็ได้  ไม่จำเป็นต้องเท่ากันในทุก ๆ รอบ ถ้าหากไม่มีความจำเป็น บางขั้นตอนอาจจะถูกข้ามไปก็ได้
13. การปรับเปลี่ยนระบบมีกี่วิธี อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   4  วิธี
1.             การปรับเปลี่ยนโดยตรง (Drrect Conversion) เป็นการแทนที่ระบบสารสนเทศเดิมด้วยระบบใหม่อย่างสมบูรณ์ โดยการหยุดใช้ระบบเก่าอย่างสิ้นเชิงและเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ในทันที  ซึ่งจะรวดเร็วและไม่ซับซ้อน วิธีการแบบนี้องค์การหรือมีข้อบกพร่อง ก็จะทำให้ผู้ใช้ไม่มีระบบใดมารองรับในการใช้งานแทนเลย
2.             การปรับเปลี่ยนแบบขนาน(Parallel Conversion) เป็นการดำเนินการโดยใช้งานทั้งระบบสารสนเทศเก่าและระบบใหม่ไปพร้อม ๆ กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เป็นหลักประกันความเสี่ยงว่า ถ้าระบบงานใหม่ยังไม่สมารถทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงแล้วก็ยังมีระบบเก่าที่สามารถทำงานได้รองรับงานอยู่
3.             การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ(Phased Conversion) เป็นการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศเก่าไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่เฉพาะงานด้านหนึ่งก่อน เมื่องานด้านนั้นทำงานได้ประสบความสำเร็จแล้ว จึงขยายการปรับเปลี่ยนระบบออกไปในด้านอื่นอีก เช่น การเปลี่ยนใช้ระบบใหม่เฉพาะเรื่องการบริหารงานบุคคล เป็นต้น
4.             การปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง(Pilot Conversion) เป็นการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่อย่างเป็นขั้นตอนและค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่ส่วนหนึ่งติดตั้งเสร็จ และใช้งานได้ดีแล้ว ก็จะขยายผลไปในส่วนต่อ ๆ ไป เช่น บางองค์การที่มีสำนักงานอยู่หลายสาขาหลังจากดำเนินการได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว ก็จะขยายใหม่ไปติดตั้งและใช้งานสาขาอื่นต่อไป เป็นตัน


นางสาววรรณี  เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 3


สรุปบทที่  3
         ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจหรือที่เรียกว่า  tps หมายถึงระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ  เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยที่tps จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินในแต่ละวันขององค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ  นอกจากนี้  tps ยังช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องอนาคต
         ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการหรือที่เรียกกว่า  mrs  หมายถึง  ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม  ประมวลผล  จัดระบบ  และจัดทำรายงาน  หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร  เนื่องจากงานที่ถูกทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานอย่างมีประประสิทธิภาพ  โดยที่ mrs  จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร  และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะเวลาที่กำหนด  หรือตามความต้องการของผู้บริหาร  โดยทั่วไปแล้วการทำงานของ mrs จะถูกใช้สำหรับการวางแผน  การตรวจสอบ  และการควบคุมการจัดการ  ขณะที่ tps จะรวบรวมและแสดงกิจกรรมในการดำเนินงานเท่านั้น
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  หรือที่เรียกว่า  dss  หมายถึง  ระบบที่จัดหาหรือจัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร  เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น  ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง  ซึงยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต  ประการสำคัญ dss  จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร  แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศหรือสิ่งต่างๆ ที่คิดว่าจำเป็นต่อการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร  ปัจจุบัน dss  เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่าย  หรือเราจะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป
        ระบบสารสนเทศสำนักงานหรือที่เรียกว่า  ois  หมายถึง  ระบบที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นใช้ช่วยการทำงานในสำนักงาน  โดยที่  ois จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานเพิ่มผลผลิต  และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสำนักงาน  โดยสามารถกล่าวอีกนัยคือ  oisมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์การเดียวกัน  และระหว่างองค์การ  รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ

นางสาววรรณี เชื่อมเป็น การจัดการ 2/1
ที่มา หนังสือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ